ตำรวจรัสเซีย คุมเข้มหน้าสุสานที่คาดใช้ฝังร่าง "เยฟเกนี ปริโกชิน"
ภาพบริเวณหน้าสุสานเซราฟิมอฟสโกเย ในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทางตะวันตกของรัสเซีย ซึ่งคาดว่าจะเป็นสถานที่ทำพิธีฝังศพของเยฟเกนี ปริโกชิน ผู้ก่อตั้งกลุ่มแวกเนอร์ ด้านหน้าสุสานเต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนตรวจตรา รักษาความปลอดภัย และคัดกรองประชาชนที่จะเข้าไปยังสุสานดังกล่าวอย่างเข้มงวด เนื่องจากกังวลว่าจะเกิดความไม่สงบขึ้น
ด้านดมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซียได้ให้สัมภาษณ์ว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย จะไม่เดินทางไปเข้าร่วมพิธีฝังศพของปริโกชิน
แวกเนอร์-ประชาชนรัสเซียไว้อาลัย “ปริโกชิน-อุตกิน”
นักวิเคราะห์ เชื่อ “ปริโกชิน” อาจถูกสังหารหลังทรยศ "ปูติน"
และทางรัฐบาลรัสเซียไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้ เพราะถือเป็นเรื่องส่วนตัวของครอบครัวปริโกชิน
หลายฝ่ายมองว่าการจากไปอย่างกระทันหันของผู้ก่อตั้งกลุ่มแวกเนอร์ ทำให้อนาคตของกลุ่มนักรบรับจ้างไม่มั่นคง จนอาจนำไปสู่การก่อความไม่สงบได้ ตอนนี้ชาติที่กังวลกับปัญหาจากกลุ่มแวกเนอร์คือ โปแลนด์และรัฐบอลติก เพราะมีพรมแดนติดกับเบลารุส ซึ่งเป็นที่พักของกลุ่มแวกเนอร์จำนวนมาก หลังต้องลี้ภัยจากรัสเซียเพราะล้มเหลวในการก่อกบฏเมื่อสองเดือนก่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ได้เดินทางไปเยือนกรุงวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์ เพื่อหารือร่วมกับมาริอุสซ์ คามินสกี รัฐมนตรีมหาดไทยโปแลนด์เกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบที่อาจเกิดขึ้นจากกลุ่มแวกเนอร์ หลังเสร็จสิ้นการหารือ รัฐมนตรีมหาดไทยของทั้ง 4 ชาติได้ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
มาริอุสซ์ คามินสกี รัฐมนตรีมหาดไทยโปแลนด์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเบลารุสขับไล่กลุ่มแวกเนอร์ออกจากแผ่นดินเบลารุส รวมถึงส่งตัวผู้ลักลอบลี้ภัยที่อยู่บริเวณชายแดนเบลารุสกลับไปยังประเทศต้นทาง พร้อมยื่นคำขาดกับเบลารุสว่า หากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง โปแลนด์และรัฐบอลติกจะปิดพรมแดนส่วนที่ติดกับเบลารุสทั้งหมด
ความกังวลภัยจากกลุ่มแวกเนอร์ของโปแลนด์และรัฐบอลติกเกิดขึ้นเพราะประเทศเหล่านี้คือ ผู้สนับสนุนรายสำคัญของยูเครนในสงครามครั้งนี้ นี่ทำให้ทั้ง 4 ประเทศตกเป็นเป้าหมายในการก่อความไม่สงบเพื่อบั่นทอนเสถียรภาพภายในประเทศ จนทำให้ไม่สามารถสนับสนุนยูเครนต่อไปได้ ความกังวลดังกล่าวเพิ่มขึ้นในวันที่กลุ่มแวกเนอร์ไร้เยฟเกนี ปริโกชิน และยูเครนเริ่มรุกคืบยึดพื้นที่สำคัญคืนได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้การต่อสู้หลักๆ ของยูเครนจะอยู่ในเขตโรโบตือนีและพื้นที่ทางด้านใต้ของเขตนี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีถนนเส้น T-0408 ถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อไปยังเมืองโตคมัค เมืองหน้าด่านก่อนถึงเมืองยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งทางเสบียงไปยังคาบสมุทรไครเมียและแคว้นเคอร์ซอนตะวันตกอย่าง เมลิโตปอลคำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออนไลน์
แม้ยูเครนจะยึดพื้นที่สำคัญกลับคืนมาได้บางส่วน แต่ขั้นตอนในการยึดคืนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากกองทัพรัสเซียได้วางแนวตั้งรับไว้หลายชั้น เช่น การใช้ฟันมังกร การขุดสนามเพลาะ รวมถึงการวางกับระเบิดไว้ตลอดทางที่ยูเครนจะเคลื่อนทัพ
เมื่อวานนี้ 28 ส.ค. สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ของทหารยูเครนที่ทำปฏิบัติการโต้กลับในแคว้นซาโปริซเซีย ซึ่งตอนนี้หลายฝ่ายคาดว่าอาจเป็นจุดหลักในการเปิดฉากโต้กลับของยูเครนเพื่อหวังโดดเดี่ยวคาบสมุทรไครเมีย
โอเล็กซานเดอร์ โซลอนโก ทหารยูเครนรายหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระบุในบันทึกของเขาว่า ปัญหาสำคัญที่ทำให้ปฏิบัติการโต้กลับของยูเครนเป็นไปอย่างล่าช้ามีอยู่ 2 ส่วนหลักคือ ลักษณะภูมิประเทศ และกับดักที่รัสเซียวางไว้
สำหรับลักษณะภูมิประเทศ ทหารยูเครนรายนี้เล่าว่าสมรภูมิรบมีลักษณะเป็นทุ่งราบ ไม่ว่าทหารยูเครนหน่วยใดจะเคลื่อนทัพ ศัตรูก็จะสามารถมองเห็นการเคลื่อนทัพได้จากระยะไกลและเปิดฉากโจมตีใส่ได้ตลอดเวลา
ส่วนปัจจัยเรื่องกับดัก โซลอนโกระบุว่า แนวป้องกันของรัสเซียมีความซับซ้อนมากโดยมีทั้งสนามเพลาะ อุโมงค์ เครื่องยิงระเบิดอัตโนมัติ ปืนกล จรวดต่อต้านรถถัง แต่อุปสรรคที่สำคัญที่สุด คือ ทุ่นระเบิดและกับดักรถถัง
ระเบิดที่ถูกติดตั้งในพื้นที่สนามรบคือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเคลื่อนทัพล่าช้า เนื่องจากยูเครนต้องเก็บกู้ระเบิดเหล่านี้ก่อน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ระเบิดแบบฝังดิน ไปจนถึงระเบิดชนิดสายและจนถึงตอนนี้ทาง
กองทัพก็ยังไม่สามารถประเมินได้ว่ารัสเซียวางระเบิดไว้ที่ใดบ้าง และเส้นทางที่ยูเครนจะรุกคืบเพื่อเข้าใกล้เมืองโตคมัคและมาริอูปอลมีระเบิดถูกติดตั้งไว้มากน้อยเพียงใด
ขณะเดียวกัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (27ส.ค.) กองพลทหารราบนาวิกโยธินที่ 36 ของยูเครนได้เผยภาพวิดีโอขณะที่ทำปฏิบัติการทำลายกับระเบิดที่รัสเซียฝังไว้ในทุ่งโล่งแห่งหนึ่งในเมืองฮูไลโปเลีย แคว้นซาโปริซเซีย
ข้อมูลจากสำนักงานสหประชาชาติเพื่อการประสานงานกิจการด้านมนุษยธรรม ชี้ให้เห็นว่า ยูเครนกลายมาเป็นประเทศที่มีพลเรือนเสียชีวิตจากกับระเบิดมากที่สุดในโลก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หน่วยงานแห่งนี้ประเมินว่าจากพื้นที่ทั้งประเทศของยูเครนกว่า 603,628 ตารางกิโลเมตร ใน 11 แคว้นซึ่งคิดเป็นพื้นที่ 174,000 ตารางกิโลเมตร หรือราวร้อยละ 29 ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีกับระเบิดฝังอยู่ ในบรรดาระเบิดทั้งหมด มีทั้งชนิดฝังดิน ระเบิดชนิดทริปไวร์หรือระเบิดชนิดสาย ระเบิดต่อต้านรถถัง และระเบิดชนิดใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก
หลายฝ่ายมองว่าการเผยแพร่ภาพการเก็บกู้ระเบิดออกมาเช่นนี้ เป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารของผู้บัญชาการทางการทหารยูเครน เพื่ออธิบายว่าเหตุใดการโต้กลับรัสเซียจึงล่าช้ากว่าที่หลายฝ่ายเคยประเมินไว้ นอกจากการต่อสู้และความพยายามกำจัดระเบิดที่แคว้นซาโปริซเซียแล้ว ล่าสุดการต่อสู้ที่แคว้นเคอร์ซอนก็มีความคืบหน้าออกมาเช่นกัน หลังทางการยูเครนรายงานว่าสามารถทำลายอาวุธสำคัญของรัสเซียได้
หน่วยงานทางการทหารประจำพื้นที่ภาคใต้ของยูเครนอ้างว่าสามารถใช้จรวดขีปนาวุธไฮมาร์สทำลายสถานีเรดาร์ชายฝั่งปรีเดล-แอ (Predel-E) ของรัสเซียในแคว้นเคอร์ซอนสำเร็จเป็นครั้งแรก สื่อต่างประเทศระบุว่า ข้อมูลเกี่ยวกับสถานีเรดาร์ปรีเดล-แอนั้นมีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นอาวุธที่ทันสมัยชิ้นหนึ่งของกองทัพเรือรัสเซีย ตัวระบบมีราคาสูงถึง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6,800 ล้านบาท
แต่ข้อมูลจากโอเพนซอร์สชี้ว่า ปรีเดล-แอ เป็นเรดาร์เหนือขอบฟ้า สามารถใช้งานร่วมกับระบบขีปนาวุธต่อต้านเรือจากระยะไกลอย่างบาสเตียน นอกจากนี้ ปรีเดล-แอ สามารถใช้ตรวจจับเป้าหมายทั้งบนพื้นดินและบนอากาศได้ในพิสัยทำการที่ไม่ต่ำกว่า 400 กิโลเมตร
หลายฝ่ายมองว่าการโจมตีแคว้นซาโปริซเซียและระบบเรดาร์ชิ้นสำคัญของรัสเซียในเคอร์ซอน ถือเป็นสัญญาณจากยูเครนที่ชัดเจนว่า พื้นที่ทางภาคใต้เป็นเป้าหมายสำคัญในปฏิบัติการยึดดินแดนคืนจากรัสเซีย ซึ่งหมายรวมถึงคาบสมุทรไครเมียด้วย
อย่างไรก็ดี ล่าสุดผู้นำยูเครนได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวอย่างตรงไปตรงมากับเรื่องการยึดคาบสมุทรไครเมียที่ถูกรัสเซียผนวกไปตั้งแต่เมื่อ 9 ปีก่อน
โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับแชเนลวันพลัสวัน ซึ่งเป็นสื่อของยูเครน โดยพูดถึงหลายประเด็นในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว ซึ่งประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือ การยึดคาบสมุทรไครเมียคืนจากรัสเซีย ผู้นำยูเครนระบุว่า ส่วนตัวแล้ว เขาไม่ต้องการยึดคาบสมุทรไครเมียคืนมาจากรัสเซียด้วยการใช้กำลังทางการทหาร เพราะจะทำให้เกิดความสูญเสียมหาศาล
นอกจากประเด็นเรื่องคาบสมุทรไครเมียแล้ว ผู้นำยูเครนยังได้พูดถึงอนาคตของสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ด้วย
ผู้นำยูเครนระบุว่า ยูเครนต้องการหลักประกันความมั่นคงจากสหรัฐฯ แบบเดียวกับที่สหรัฐฯ มอบให้อิสราเอล ซึ่งจะรวมความช่วยเหลือด้านอาวุธ การเงิน และเทคโนโลยีเอาไว้ด้วย
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีเซเลนสกียอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าสงครามนี้ยังไม่จบยูเครนก็อาจต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามเช่นนี้ต่อไปอย่างไรก็ดี ผู้นำยูเครนกล่าวสรุปในช่วงท้ายของบทสัมภาษณ์ว่า เขาอยากเห็นสงครามจบและต้องเป็นการจบที่จะไม่นำไปสู่สงครามครั้งใหม่ในอนาคต
แต่การที่จะมีสันติภาพถาวรได้นั้น ยูเครนจะต้องมีกองทัพที่แข็งแกร่งและมีโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงที่ดีเพื่อให้ประเทศสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง
หนึ่งในวิธีการสร้างความมั่นคงที่ยูเครนกำลังทำในขณะนี้คือ การลงทุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และความมั่นคงต่างๆ
ล่าสุดสำนักข่าว NEXTA รายงานว่า วันนี้กระทรวงเพื่อการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของยูเครน ได้เปิดเผยภาพหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่จะถูกนำไปใช้ในสนามรบ โดยหุ่นยนต์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อขนส่งอาวุธ ยารักษา จนถึงใช้เพื่อสังหารทหารรัสเซียและช่วยรักษาชีวิตชาวยูเครน